เทคนิคการฉาบผนังอิฐมวลเบา
- ฉาบหนาไม่เกิน 1.5 ซม. สามารถฉาบปูนให้มีความหนาตามต้องการได้เลย ขึ้นฉาบโดยกดเกรียงฉาบรีดบางก่อนและฉาบเติมปูนตามความหนาที่ต้องการ
- ฉาบหนาเกิน 1.5 – 2.5 ซม. แล้วรอให้ปูนฉาบเซทตัวหมาดที่ความหนา 1 – 1.5 ซม. จากนั้นจึงสามารถฉาบเติมปูนตามความหนาที่ต้องการ รอปูนเซทตัวหมาดอีกครั้ง (ปูนฉาบต้องไม่ผสมเหลวเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการย้อยตัวของปูน)
- กรณีที่มีการฉาบความหนาเกิน 2.5 ซม.ขึ้นไป อาจมีปัญหาแตกร้าวตามมาภายหลังจึงควรติดลวดตะข่าย #125 ช.ม. เต็มพื้นที่ บริเวณที่มีการฉาบความหนาเกิน
- เมื่อปูนเซ็ทตัวหมาดเริ่มแข็ง สามารถเดินสามเหลี่ยมปาดหน้าปูนหาระนาบ จากนั้นเติมปูนบริเวณที่ไม่เต็ม เพื่อทำการเดินสามเหลี่ยมปาดหน้าหาระนาบอีกครั้ง และจึงทำการฉาบแต่งหน้าได้ตามต้องการ
- หลังฉาบแต่งตั้งปูน เมื่อปูนเซ็ทตัวหมาดเริ่มแข็ง สามารถตีน้ำด้วยแปรงเพื่อทำการปั่นหน้าลงฟองได้ทันที (หลังการปั่นหน้าลงฟองควรกวาดหน้าปูนทุกครั้งเพื่อผิวหน้าปูนที่เรียบเนียนสวย)
การฉาบโครงสร้างคอนกรีต (เสา-คาน)
- การเตรียมพื้นผิวโครงสร้างคอนกรีตก่อนการฉาบ ต้องสลัดดอก บริเวณที่ต้องการฉาบให้ทั่วทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน (ค่าการยึดเกาะขึ้นอยู่กับสภาพผิวโครงสร้าง, ประเภทปูนซีเมนต์บวกน้ำยาเคมีที่นำมาใช้, ส่วนผสมทราย, และความถี่ในการสลัดดอก) หรือทำการไล้ปูนกาวก่อตราจิงโจ้ม่วงด้วยเกรียงร่องหวี ขนาด 3-6 มม. รอให้ปูนหมาดตัว แล้วจึงฉาบทับด้วยปูนฉาบอิฐมวลเบา ตราลูกดิ่งแดง (ค่าการยึดเกาะมากกว่า 2 กก./ตร.ซม.)
- การผสมปูนสำหรับฉาบบนพื้นผิวคอนรีต ต้องผสมปูนฉาบข้นกว่าการฉาบผนัง (ใช้น้ำน้อยกว่าเพราะการฉาบบริเวณผิวโครงสร้าง ปูนเซทตัวช้ากว่าแผงผนังทำให้เกิดการย้อยตัวของปูน)
- การฉาบชั้นแรก ให้ขึ้นฉาบบางประมาณ 1-15 ซม. รอให้ปูนฉาบซตตัวหมาด จากนั้นจึงสามารถฉาบเติมปูน ทีละชั้นตามความหนาที่ต้องการโดยสามารถทำตามขั้นตอนและรายละเอียดเดียวกันกับการฉาบปูนที่ผนังอิฐจนจบสิ้นทุกขั้นตอนการฉาบปูน